การนำเส้นประธานสิบมาใช้รักษาโรค

เส้นประธานสิบ เป็นความรู้ทางการแพทย์แผนไทยที่มีการบันทึกในตำราการนวดไทยต่างๆหลายตำราและศิลาจารึกวัดโพธิ์ โดยนำองค์ความรู้ที่ตกทอดสืบๆกันมา
มีการชำระ(ปรับปรุงรวบรวม)ตำราเกี่ยวกับเส้นประธานสิบอยู่หลายสมัยด้วยกัน
การนำมาใช้รักษาโรคไม่เป็นที่แพร่หลายนัก
แต่หากว่าเส้นประธานสิบนั้นก็ยังมีการเรียนการสอนอยู่ในการนวดทุกสำนัก
โดยบรมครูหลายท่านได้นำมาจัดเป็นหมวดหมู่ใหม่ให้ง่ายต่อการเรียนการจดจำ
การสอนเพราะภาษาที่ใช้ในอดีตและปัจจุบันแตกกัน ความรู้และประสบการณ์ของหมอที่มีก็มากขึ้นโรคภัยต่างๆก็แปรไปบ้าง จึงเรียกให้เข้ายุคสมัยการเรียกจุดนวดต่างจึงมีหลายคำมากตามยุคสมัยครับ
ตัวอย่างศิลาจารึกวัดโพธิ์ (ภาพจากริมหลังคาศาลารายวัดโพธิ์)

ตัวอย่างตำราโรคนิทานคำฉันท์ ๑๑
ลมจันทร์พิการร้าย ชักปากเบี้ยวเสียวหน้าตา
๏ ให้นวดแก้ริมจะมูก เบื้องซ้ายถูกจงหนักหนา
นวดท้องเส้นอิทา ไคลตามหลังทั้งสูงเศียร
๏ ทำยาพอกปากเบี้ยว ชักหน้าเลี้ยวดังบังเหียน
อย่าเกียดกลพากเพียร ใช่ลมนี้จะหายง่าย
๏ สรรพยาอย่าพึงแคลง ใบมะแว้งทั้งสองหมาย
ใบเขือขื่นมะอีกราย ใบเจ็ตมูลขมิ้นอ้อย
๏ ดินประสิวรำหัดบด หยดน้ำส้มสาชูหน่อย
พอกริมปากชักลอย จงเนืองๆ ก็เปลื้องหาย
แปล
ลมจันทร์ มีอาการชักปากเบี้ยว เสียวหน้าตา ชักหันหน้าเหมือนถูกบังเหียน
นวดริมจมูกซ้าย นวดท้องเส้นอิทา นวดหลังตลอดถึงศีรษะ แล้วจึงให้ยา
ยาพอก ประกอบด้วย ใบมะแว้งทั้งสอง ใบมะเขือขื่น ใบเจตมูลเพลิง ขมิ้นอ้อย ดินประสิวรำหัด บดรวมกัน หยดน้ำส้มสายชูเล็กน้อย พอกริมปากข้างที่ชัก
แค่ตัวอย่างนะติดตามต่อได้ในหนังสือนวดเล่มใหม่ของมสธ. หน่วยที่อ.อภิชาติ ลิมติยะโยธินเขียน(จริงๆแล้วผมแปลให้เองแหละ แล้วอ.แก้ไขปรับปรุงอีกที)

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ฝึกกำลังนิ้วมือ

แก้ไขคำผิดหนังสือเส้นประธานสิบ

ชื่อเส้นแบบเดิมที่ใช้ในคัมภีร์แพทย์แผนไทย